ราชกิจจาฯ ประกาศ กฎกระทรวง 2 ฉบับ ลดค่าโอน-จดจำนอง ที่อยู่อาศัย กระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ปี 67 หนุนประชาชนมีบ้านเป็นของตัวเอง มีผลบังคับใช้ถึง 31 ธ.ค.นี้
เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้ประกาศ กฎกระทรวง 2 ฉบับ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการกำหนดค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิ์และการทำนิติกรรม สำหรับกรณีการโอนและการจำนองที่เกิดจากการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ มีจุดประสงค์เพื่อช่วยลดภาระของประชาชนที่ต้องการมีบ้านหรือที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองในปี 2566
ประเภทที่อยู่อาศัยที่ได้รับการพิจารณา ได้แก่ บ้านเดี่ยว, บ้านแฝด, บ้านแถว, อาคารพาณิชย์, ที่ดินพร้อมอาคาร รวมถึงอาคารชุดหรือคอนโดมิเนียม ที่มีราคาซื้อขายและราคาประเมินไม่เกินสามล้านบาท และวงเงินจำนองไม่เกินสามล้านบาท โดยมี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้ลงนาม
เหตุผลของการออกกฎกระทรวงนี้ คือ เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ประชาชนมีบ้านเป็นของตัวเอง และเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จึงกำหนดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมในกรณีพิเศษสำหรับอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว
สาระสำคัญของกฎกระทรวงนี้ คือ การขยายเวลามาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัยในปี 2567 เพื่อช่วยลดภาระของประชาชน ส่งเสริมการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งช่วยรักษากิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาคอสังหาริมทรัพย์
รายละเอียดของการลดค่าธรรมเนียมเนียม ได้แก่ การลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์จากเดิม 2% ลดลงเหลือ 1% และการลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์จาก 1% เหลือเพียง 0.01% ในกรณีที่มีการโอนและจดจำนองพร้อมกัน เริ่มมีผลบังคับใช้ย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567
การประกาศนี้เกิดขึ้นหลังจากรัฐบาลของนายเศรษฐา ทวีสิน ได้มีมติในคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2566 ที่จะต่ออายุมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ออกไปอีกหนึ่งปี ซึ่งมีผลบังคับใช้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567
สรุปสาระสำคัญของการลดค่าธรรมเนียม ได้แก่ ค่าโอนที่จะลดจาก 2% เหลือ 1% หรือจากค่าใช้จ่ายในการโอนอสังหาริมทรัพย์ต่อล้านบาทจาก 20,000 บาท เหลือเพียง 10,000 บาท ส่วนค่าจดทะเบียนจำนองจะลดลงจาก 1% เหลือ 0.01% หรือค่าใช้จ่ายต่อล้านบาทจาก 10,000 บาท เหลือเพียง 100 บาทเท่านั้น มีผลเพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายสำหรับประชาชนที่ต้องการซื้อหรือจำนองอสังหาริมทรัพย์ในช่วงเวลาดังกล่าว
ที่มา:https://www.thansettakij.com/real-estate/585070
ที่ 5/1/2024