Totally mixed use! Transforming the city center along the electric train line pushing up land prices

มิกซ์ยูสพรึบ! พลิกโฉม ศูนย์กลางเมือง แนวรถไฟฟ้า ดันราคาที่ดินพุ่ง

รถไฟฟ้า พลิกโฉม ศูนย์กลางเมืองดันราคาที่ดินพุ่ง บิ๊กทุนปักหมุดมิกยูสซ์ แนวรถไฟฟ้า ทำเลปทุมวัน ถนนพระราม4 เมืองขนาดใหญ่ วันแบงค็อก เซ็นทรัลดุสิตทยอยเปิดปี67

การลงทุนโครงข่ายรถไฟฟ้า จุดประกายการเปลี่ยน แปลงของเมือง จากตึกแถวพลิกโฉมสู่ตึกสูง และที่ดินมีราคาสูงต่อเนื่องโดยเฉพาะทำเลศูนย์ กลางเมือง ที่มีดีเวลลอปเปอร์เกาะกลุ่มเข้าพื้นที่พัฒนา ทำให้พื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้า มีศักยภาพนอกจากเป็นแหล่งรวมของการใช้ชีวิตแล้ว ยังเป็นศูนย์รวมรับส่งผู้โดยสาร ไปสู่จุดหมายปลายทางได้คราวละมากๆ ซึ่งปัจจุบันสะท้อนว่า เอกชนเป็นตัวนำการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีให้เกิดประสิทธิภาพ หลังจากภาครัฐลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐานไว้

งานสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “Mixed Use Projects กับการขับเคลื่อน TOD” ซึ่งจัดโดยศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) ที่เป็นการสำรวจโครงการ Mixed-use(มิกซ์ยูส) ในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑลที่อยู่ระหว่างการขายและให้เช่า ในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 ซึ่งเป็นข้อมูลที่สะท้อนถึงภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ในเมือง

" REIC" ได้ให้คำนิยามของโครงการ Mixed-use ในการสำรวจนี้เป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่มีพื้นที่อาคารรวมตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตร ขึ้นไป และมีการใช้ประโยชน์อาคารตั้งแต่สองประเภทขึ้นไป โดยเป็นการลงทุนจากผู้พัฒนารายเดียวหรือบริษัทร่วมทุน โดยอาจประกอบด้วยอาคารชุดพักอาศัย ศูนย์การค้า อาคารสำนักงาน โรงแรม (ไม่รวมโรงพยาบาล)

จากการสำรวจ พบว่า ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล รวม 126 โครงการ พื้นที่ 15,312,966ตารางเมตร ประกอบด้วย โครงการที่ก่อสร้าง แล้วเสร็จ ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ครึ่งแรกปี 2566 มีจำนวน 110 โครงการ มีพื้นที่ก่อสร้างรวม 11,462,394 ตารางเมตร ขณะโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างและยังไม่ก่อสร้าง ที่จะสร้างแล้วเสร็จเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังปี 2566-2570

อีกจำนวน 16 โครงการ พื้นที่ รวม 3,850,572 ตารางเมตร อย่างโครงการภิมหาโปรเจ็กต์ วันแบงค็อก เฟสแรก ทำเลถนนวิทยุ ตัดพระราม4 โครงการ ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค ทำเลสีลม-พระราม4 โครงการ เดอะ ฟอเรสเทียส์’ บนถนนบางนา-ตราด กม.7 เป็นต้น โดยโซนปทุมวัน เป็นทำเลที่มี การพัฒนาสูง โดยปี 2570จะมีพื้นที่ ออกมาจำนวน 1,711,990 ตารางเมตร ซึ่งคิดเป็น 14.9% ของอุปทานที่สร้างเสร็จในปัจจุบัน ที่11,462,394 ตารางเมตร

ขณะการปรับขึ้นของราคาที่ดินต่อการพัฒนาและการเข้าพื้นที่ของคนพบว่า รถไฟฟ้าสายสีเขียว (บีทีเอส) สายสุขมวิท มีสัดส่วน 33.6% รถไฟฟ้า MRT มีสัดส่วน 18.5% และ รถไฟฟ้า BTS สายสีลม มีสัดส่วน 14.2%

อย่างไรก็ตาม ประเมินว่าโครงการมิกซ์ยูส ที่จะก่อสร้างแล้วเสร็จในใจกลางเมืองจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของเมืองครั้งใหญ่ ที่สำคัญกำลังซื้อ ที่จะเกิดขึ้น ย่อมมาจากต่างชาติ!!!







ที่มา:https://www.thansettakij.com/real-estate/575170

วันที่ 5/09/2023

คอนโดยอดนิยม BTS สายสุขุมวิท-สายสีลม


คอนโดยอดนิยม MRT


คอนโดใกล้สถานศึกษา