Real estate development trends in 2023, residences that meet the needs of modern consumers

เทรนด์การพัฒนาอสังหาฯ ปี2566 ที่อยู่อาศัยตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่

ไลฟ์สไตล์และความชอบของผู้คนเปลี่ยนไปตามกาลเวลาเสมอ ในความเป็นจริงทุกคนล้วนเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตัวเอง ‘บ้าน’ อสังหาริมมทรัพย์ที่เลือกซื้อหนึ่งครั้งแล้วต้องอยู่ตลอดไป จากผลการสำรวจพฤติกรรมผู้อยู่อาศัย Q3/65 จากคุณประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ (ลุมพินี วิสดอมฯ) 75% ผู้คนเลือกซื้อบ้านที่มีความปลอดภัย และมีเทคโนโลยีที่ช่วยตอบโจทย์การใช้ชีวิตให้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น 60% ต้องการที่อยู่อาศัยที่มีสุขอนามัยที่ดี (Well-being) คาดว่าเป็นข้อมูลที่นำมาประกอบการพิจารณาเทรนด์การพัฒนาอสังหาฯ ปี2566

โดยยังมีการเก็บผลสำรวจเพิ่มเติม จากรายงานของ Wall Street Journal (อ้างอิง : Attom Data Solution) ที่กล่าวถึงพฤติกรรมการซื้อที่อยู่อาศัยของกลุ่มคนรุ่นใหม่ในสหรัฐอเมริกา ปีพ.ศ. 2557 – ปัจจุบัน เป็นการซื้อที่อยู่อาศัยร่วมกับกลุ่มเพื่อน มากกว่าจะเป็นสมาชิกในครอบครัว ทั้งยังนิยมเช่ามากกว่าซื้อ “Generation Rent” เพราะมองว่าการซื้อขาดเป็นภาระที่ใช้ต้นทุนสูงมากจนเกินไป

ข้อมูลทั้งหมดคุณประพันธ์ศักดิ์สามารถแบ่งแนวโน้ม หรือเทรนด์ ได้ทั้งหมด 5 ประเด็นสำคัญ เพื่ออ้างอิงในการพัฒนาที่อยู่อาศัย อสังหาฯ ปี2566 เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ซื้อ ซึ่งเป็นมิติใหม่ที่ท้าทายสำหรับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ที่จะนำไปปรับใช้และสร้างจุดเด่นธุรกิจของตนเอง

เทรนด์การพัฒนาอสังหาฯ ปี2566

1.การพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยคำนึงถึงสุขภาวะ สภาพแวดล้อมที่ดีในการอยู่อาศัยอย่างยั่งยืน (WELL-BEING & SUSTAINABLE RESIDENCES)

2.การพัฒนาที่อยู่อาศัยในรูปแบบของ MULTIPURPOSE RESIDENCES

ในยุคสมัยที่เทคโนโลยีเข้าถึงชีวิตประจำวันมากขึ้น ทำให้ผู้คนสามารถเข้าถึงความสะดวกสบาย เข้าถึงโซเชียล สามารถเรียนหรือทำงานได้ทุกที่แม้กระทั่งบ้าน (Work or Study form Home) ทำให้บ้านเป็นได้ทั้งพื้นที่พักผ่อน พื้นที่สำหรับการศึกษา พื้นที่เพื่อปฏิสัมพันธ์กับสมาชิกในครอบครัว ผสานเป็นส่วนเดียวกันในรูปแบบของ “Multipurpose Residences”

จากการสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ พบว่าปัจจุบันผู้คนหันมาทำธุรกิจขนาดเล็กภายในบ้านกันมากขึ้น 40 – 50% เกิดธุรกิจใหม่ ๆ ประเภทสตาร์ตอัป เป็นหนึ่งเทรนด์การพัฒนาอสังหาฯ ปี2566 ที่น่าสนใจ ผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาฯ ได้ออกแบบฟังก์ชันบ้านสู่การใช้ชีวิตรูปแบบใหม่ ที่ผู้บริโภคสามารถใช้ชีวิตได้ทุกรูปแบบในบ้าน ผู้คนมองเห็นทางเลือกใหม่ ๆ ที่ตอบรับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปในยุคดิจิทัล

3.พัฒนาที่อยู่อาศัยในรูปแบบของการปล่อยเช่าเพื่อตอบโจทย์กับความต้องการของคน (GENERATION RENT)

ตามที่ได้ท้าวความไปเบื้องต้นเกี่ยวกับ “Generation Rent” ความนิยมการเช่าอยู่มากกว่าซื้อขาด เช่นเดียวกับการศึกษาของ ABC Finance Ltd. ประเทศอังกฤษ 1 ใน 3 ของคนรุ่นมิลเลเนียล ไม่เลือกซื้อบ้านเป็นของตัวเอง โดยให้เหตุผลว่าการซื้อเปรียบเสมือนอิสระที่หายไปตามจำนวนเงินที่จ่าย การเช่าตอบสนองความต้องการทั้งความสามารถในการจ่าย รวมถึงอิสรภาพในการใช้ชีวิตได้มากกว่า ทำให้เกิดโอกาสในการเลือกงาน และการทำธุรกิจที่อยู่ใกล้เมือง เข้าถึงสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ

ประกอบกับผลสำรวจจาก Living Insider เปิดเผยเปอร์เซ็นต์การค้นหาที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น 10% แต่การค้นหาคอนโดฯ เพื่อซื้ออยู่อาศัยกลับลดลง 10% เช่นกัน โดยมีสิ่งที่ตอบสนองการเช่าอยู่ คือ สิ่งอำนวยความสะดวก เฟอร์นิเจอร์ที่ครบครันพร้อมเข้าอยู่ได้เลย

แนวโน้มดังกล่าวสอดคล้องอย่างเห็นได้ชัดกับพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่ในประเทศไทย โดยเลือกการเช่าอยู่ แทนการซื้อขาด สามารถเลือกทำเลที่ชอบ ไม่ว่าจะเป็นแนวรถไฟฟ้า การเดินทางสะดวก ตอบโจทย์ความอิสระและความพร้อมในการโยกย้ายที่อยู่อาศัยไปแหล่งอื่นหรือใกล้ที่ทำงานใหม่ จึงเป็นโอกาสที่ผู้พัฒนา จะพัฒนาโครงการที่มีความยืดหยุ่นทั้งการพัฒนาเพื่อขายและปล่อยเช่า

4.การพัฒนาเทคโนโลยีและงานบริการเพื่อการอยู่อาศัย (SMART RESIDENCES)

ปัจจุบันเทคโนโลยีถูกนำมาพัฒนาใช้ควบคู่กับธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยมากขึ้น เพื่อจุดประสงค์ในการตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ เพราะนอกจากความรวดเร็วแล้ว เทคโนโลยียังช่วยอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ จึงเป็นทางเลือกที่ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์จะหยิบประเด็นนี้มาพัฒนาที่อยู่อาศัยและงานบริการต่อไป เช่น

Application เชื่อมต่อการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในบ้าน โคมไฟ ประตู ม่านไฟฟ้า ฯลฯ ผู้บริโภคสามารถแจ้งซ่อมบำรุงอุปกรณ์ผ่านแอปพลิเคชันเดียวกัน รวมถึงการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ระหว่างกระบวนการก่อสร้าง เพื่อขายหรือปล่อยเช่าได้ อ้างอิงแนวคิด Real Estate As A Service (REaaS) ที่สอดคล้องกับ Space As A Service (SpaaS) งานสัมมนาศูนย์สร้างสรรค์กลยุทธ์และประเมินมูลค่าแบรนด์ หรือ Baramizi ที่สนับสนุนการบริการมากกว่าผลิตภัณฑ์ เนื่องจากผู้บริโภคให้ความสนใจการซื้อประสบการณ์มากกว่าเดิม เพื่อค้นหาช่องว่างที่อาจจะก่อให้เกิดโอกาสที่เติมเต็มความต้องการและตอบสนองความต้องการได้อย่างรวดเร็ว (ความภักดีต่อแบรนด์ : Brand Loyalty)

5.การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อย่างยั่งยืน (SUSTAINABLE DEVELOPER) ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของโลก

จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ (Climate Change) หลายภาคส่วนตระหนักถึงการแก้ไขปัญหานี้ โดยประชาสมาคมโลกตั้งเป้าหมายในการลดมลพิษทางอากาศ 45% ในปี 2030 และถึง 0% อากาศบริสุทธิ์ในปี 2050 ซึ่งภาคอสังหาฯ ก็ได้นำเทคโนโลยีเข้ามาควบคุมการปล่อยมลพิษ 50 – 60% ปัจจุบันหลายบริษัทใหญ่ในอุตสาหกรรมเข้ามาให้ความสำคัญประเด็นนี้กันอย่างจริงจัง

เมื่อภาคอสังหาริมทรัพย์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ทำให้เกิดมลภาวะสูง จึงต้องให้ความสำคัญต่อกระบวนการก่อสร้างเพื่อลดมลพิษ เป็นการนำเทคโนโลยีการก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ (ไม่กระทบสิ่งแวดล้อม) ลดการปล่อยก๊าซ CO2 เช่น การใช้รถพลังงานไฟฟ้าภายในโครงการ การใช้โซลาร์รูฟทั้งพื้นที่บ้าน พื้นที่ส่วนกลาง รวมถึงในส่วนของการจัดการของเสีย การจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพก่อนที่จะส่งออกไปนอกโครงการ เป็นต้น

จากประเด็นข้างต้น เป็นจุดเปลี่ยนที่ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะประเทศไทย แต่เกิดขึ้นทั่วโลก ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ต้องปรับตัว พัฒนาสิ่งใหม่ ๆ ให้ตอบโจทย์กับความต้องการของผู้บริโภคยุคดิจิทัล กลุ่มเป้าหมาย (Target) เข้ากับรูปแบบอสังหาฯ ที่กำลังวางแผนพัฒนา ซึ่งผู้อยู่อาศัยไม่สามารถพูดความต้องการของตนเองได้ทั้งหมดก็จริง แต่หากมีการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่ตอบสนองความต้องการได้ ก็มีแนวโน้มที่จะถูกเลือกมากกว่าอย่างแน่นอน





ที่มา:https://xn--72c9cuabgjukeh.com/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%80%e0%b8%87%e0%b8%b4%e0%b8%99-%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%a5%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b8%e0%b8%99/%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b8%99%e0%b8%94%e0%b9%8c%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9e%e0%b8%b1%e0%b8%92%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%ad%e0%b8%aa%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%ab%e0%b8%b2/

วันที่ 13/07/2023 

คอนโดยอดนิยม BTS สายสุขุมวิท-สายสีลม


คอนโดยอดนิยม MRT


คอนโดใกล้สถานศึกษา